
ทรัมป์ ประกาศตัดสิทธิ GSP สินค้าไทย อ้างปมตลาดเนื้อหมู “ทรัมป์” สั่งตัดจีเอสพีไทยมูลค่า 2.5 หมื่นล้าน เริ่ม 30 ธ.ค.นี้
โทษฐานไม่ยอมให้ขายหมูมีสารเร่งเนื้อแดงจากสหรัฐฯ ด้าน “พาณิชย์”
และเมื่อวันที่ 31 ต.ค.63 นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าได้รับการแจ้งจากสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน ถึงประกาศ นายโดนัลด์ ทรัมป์ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เกี่ยวกับผลการพิจารณาตัดสิทธิพิเศษทางภาษี (จีเอสพี) ของสหรัฐฯ ซึ่งครั้งนี้เป็นการทบทวนรายประเทศ (Country Practice)
:ช็อก! กันทั้งสถา สส.วิสาร กรีดแขนในสภา
พร้อมเดินหน้าช่วยภาคเอกชน เผยสินค้าได้รับผลกระทบมีอาทิ อุปกรณ์ชิ้นส่วนยานยนต์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เป็นต้น
รัฐบาลของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศที่กรุงวอชิงตันเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า สหรัฐอเมริกาตัดสินใจระงับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี)
สินค้าของไทยมูลค่า 817 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 25,400 ล้านบาท)
ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2563 สืบเนื่องจาก “การขาดความคืบหน้าอย่างเพียงพอที่จะให้สหรัฐฯ เข้าถึงตลาดผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรอย่างเท่าเทียมและสมเหตุสมผล”
ทรัมป์ ประกาศตัดสิทธิ GSP สินค้าไทย อ้างปมตลาดเนื้อหมู แถลงการณ์ของทำเนียบขาวกล่าวว่า ในหนังสือที่ทรัมป์ส่งถึงนางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อแจ้งการตัดสินใจดังกล่าวหลังจากการเจรจาต่อรองนานกว่า 2 ปี ระบุว่า “ผมตัดสินใจแล้วว่าไทยไม่ได้ให้ความมั่นใจต่อสหรัฐฯ ว่าไทยจะให้สหรัฐฯ เข้าถึงตลาดของไทยอย่างเท่าเทียมและสมเหตุสมผล”

โรเบิร์ต ไลธีเซอร์ ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (ยูเอสทีอาร์) กล่าวว่า การตัดสินใจครั้งนี้ของสหรัฐฯ แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลประธานาธิบดีทรัมป์
ในการติดตามและบังคับใช้โครงการสิทธิพิเศษทางการค้าของสหรัฐฯ อย่างจริงจัง สินค้าของไทยที่สหรัฐฯ ตัดจีเอสพีครั้งนี้มีมูลค่าประมาณ 1 ใน 6 ของประโยชน์ที่ไทยได้จากระบบจีเอสพีของสหรัฐฯ
ทั้งนี้ สภาผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติของสหรัฐฯ (เอ็นพีพีซี) ได้ยื่นคำร้องเมื่อปี 2551 ขอให้ทางการสหรัฐฯ ดำเนินการกับไทย โดยสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากการถูกตัดจีเอสพี
ตามแถลงการณ์ของยูเอสทีอาร์
- มะม่วงและสับปะร
- อุปกรณ์ทำเล็บ
- ท่อเหล็ก
- อัญมณี
- ชิ้นส่วนรถยนต์
- เครื่องใช้ไฟฟ้า
- อาหารแห้ง
- อุปกรณ์และเครื่องครัวอะลูมิเนียม
ด้านนายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ได้รับการแจ้งจากสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน
ถึงประกาศประธานาธิบดีสหรัฐฯ (Presidential Proclamation)
เกี่ยวกับผลการพิจารณาตัดสิทธิจีเอสพีของสหรัฐฯ ซึ่งครั้งนี้เป็นการทบทวนรายประเทศ (Country Practice)
โดยเป็นเรื่องของการเปิดตลาดสินค้าและบริการประเด็นการเปิดตลาดสินค้าเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ เนื่องจากสหรัฐฯ
เห็นว่าการเปิดตลาดสินค้าของไทยนั้นไม่อยู่ในระดับที่เท่าเทียมและสมเหตุสมผล แม้ไทยจะได้ชี้แจงอย่างต่อเนื่องถึงผลกระทบด้านสุขภาพและสุขอนามัยของประชาชน โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 30 ธันวาคม 2563 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ การตัดสิทธิพิเศษดังกล่าวมีจำนวน 231 รายการ เป็นสินค้าที่มีการใช้สิทธิฯ จริงในปี 2562
จำนวน 147 รายการ มูลค่าการนำเข้าประมาณ 604 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
คิดเป็นภาษีที่ต้องกลับไปเสียในอัตราปกติมูลค่าประมาณ 19 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าที่ได้รับผลกระทบ มีอาทิ
- อุปกรณ์ชิ้นส่วนยานยนต์และส่วนประกอบ
- พวงมาลัยรถยนต์
- ล้อรถยนต์
- กระปุกเกียร์
- กรอบโครงสร้างแว่นตาทำด้วยพลาสติก
- เคมีภัณฑ์
- เกลือฟลูออรีน
- ที่นอนและฟูกทำด้วยยางหรือพลาสติก
- หลอดและท่อทำด้วยยางวัลแคไนซ์
- อะลูมิเนียมเจือแผ่นบาง
นายกีรติเผยว่า การให้สิทธิจีเอสพีนั้นเป็นการให้ฝ่ายเดียวโดยสหรัฐฯ ซึ่งที่ผ่านมาไทยและสหรัฐฯ
ได้มีการพูดคุยกันในเรื่องนี้มาโดยตลอดผ่านเวที TIFA (Trade and Investment Framework Agreement)
โดยหลังจากนี้กระทรวงพาณิชย์จะเร่งดำเนินการประสานกับฝ่ายสหรัฐฯ ซึ่งสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (United States Trade Representative: USTR)
ยินดีหากไทยจะหาทางออกร่วมกันในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากสิทธิ GSP จะช่วยทำให้ผู้ส่งออกไทยและผู้นำเข้าสหรัฐฯ สามารถลดภาระภาษี ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศ
เขาระบุว่า กระทรวงพาณิชย์ได้เตรียมพร้อมมาตรการรองรับผลกระทบจากการระงับสิทธิฯ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยแล้ว โดยในเบื้องต้นวางแผนจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดอย่างหลากหลาย อาทิ Online Business Matching
สำหรับสินค้าที่มีความต้องการในตลาดสหรัฐฯ และตลาดใหม่ การจัดกิจกรรมส่งเสริมสินค้าไทยในงานแสดงสินค้าในสหรัฐฯ และตลาดใหม่
การส่งเสริมสินค้าไทยเข้าสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยใช้ช่องทาง Cross border e-commerce
เข้าสู่ผู้บริโภคในตลาดสหรัฐฯ และตลาดใหม่โดยตรง ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้หารือและทำความเข้าใจกับภาคเอกชนตลอดมา
เพื่อเตรียมการรองรับและเน้นในเรื่องกลยุทธ์การตลาดที่ให้ความสำคัญเรื่องคุณภาพมาตรฐานสินค้ามากกว่าการแข่งขันด้านราคา
ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญที่สหรัฐฯ นำมาใช้เป็นข้ออ้างในการตัดจีเอสพีไทยครั้งนี้ มาจากกรณีที่ไทยไม่ยอมเปิดตลาดเนื้อสุกรและเครื่องในจากหรัฐฯ ที่ใช้สารเร่งเนื้อแดงแรดโตพามีนในการเลี้ยง โดยที่ผ่านมาสหรัฐฯ กดดันไทยอย่างหนักและขู่ตัดจีเอสพีมาอย่างต่อเนื่อง.